กฎกระทรวง
แบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่น
ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้
กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ (ผอ.สยศ.ตร.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑) เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของชาติ
๒) ดำเนินการวิเคราะห์สถานภาพอาชญากรรม และประเมินแนวโน้มสถานการณ์อาชญากรรมแต่ละประเภทในภาพรวม และจำแนกตามพื้นที่ตามวงรอบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด และเสนอแนวทาง แผน แผนงาน โครงการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการรณรงค์การป้องกันอาชญากรรม การพัฒนาระบบและมาตรฐานด้านการป้องกันอาชญากรรม การให้การรับรองมาตรฐานด้านการป้องกันอาชญากรรมด้านการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการพัฒนาระบบงานตำรวจชุมชนและการจัดระเบียบสังคมเพื่อป้องกันและควบคุมปัญหาอาชญากรรม
๔) ส่งเสริมให้มีการจัดระบบงานด้านการป้องกันอาชญากรรมในระดับชุมชนท้องถิ่น และสถานประกอบการ รวมทั้งการจัดระบบการปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานรักษาความปลอดภัย
๕) จัดให้มีระบบการตรวจสอบมาตรฐานพนักงานรักษาความปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานในวิชาชีพการป้องกันอาชญากรรม และการรักษาความปลอดภัย
๖) ให้คำปรึกษา แนะนำแก่หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับระบบและมาตรฐานการจัดการด้านการป้องกันอาชญากรรม การพัฒนาระบบงานตำรวจชุมชนและการป้องกันอาชญากรรมระดับชุมชน
๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กองแผนงานอาชญากรรม (ผอ.) ประกอบด้วยหน่วยงานในสังกัด ๕ หน่วยงาน ดังนี้
๑) ฝ่ายอำนวยการ
- มีหน้าที่ด้านงานธุรการและสารบรรณ ,งานบริหารงานบุคคล ,งานคดีและวินัย ,งานนโยบายและแผน และงานยุทธศาสตร์ ,งานการเงินและบัญชี, งานงบประมาณ ,งานส่งกำลังบำรุง ,งานสวัสดิการ ,งานศึกษาอบรม เพื่อให้การทำงานของหน่วยงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
๒) กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (ปป.ผอ.)
มีหน้าที่
- กำหนดแผนงาน โครงการหรือมาตรการป้องกันอาชญากรรมให้กับหน่วยงานต่างๆ
- ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามนโยบาย มาตรการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
- พัฒนาและส่งเสริมให้มีการจัดระบบที่เป็นมาตรฐานในการป้องกันอาชญากรรมในระดับชุมชน สถานประกอบการ การจัดระเบียบสังคมเพื่อป้องกันและควบคุมอาชญากรรม
๓) กลุ่มงานป้องกันอาชญากรรมพิเศษ (ปพ.ผอ.)
มีหน้าที่
- งานปราบปรามการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่า และทรัพยากรธรรมชาติ (ปทส.)
- งานปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ (ปจร.)
- งานปราบปรามผู้มีอิทธิพล และมือปืนรับจ้าง (ปอร.)
- งานปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง (ปนม.)
- งานปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (ปลป.)
- งานป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) (งานพิทักษ์เด็ก เยาวชน และสตรี (พดส.)
- งานปราบปรามการโจรกรรมสินค้าทางน้ำ (ปสน.)
- รวบรวม ศึกษา และประมวลข้อมูล เพื่อเป็นองค์ความรู้และนำไปสู่การกำหนดแผน โครงการและ/หรือแนวทางการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษให้กับหน่วยงานต่างๆ
- ประมวลนโยบาย คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรายงานข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ
- ดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการวางแผนงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ
- ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการตามนโยบาย แผนงาน มาตรการแนวทาง หรือข้อสั่งการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ
- พัฒนาและส่งเสริมให้มีการจัดระบบที่เป็นมาตรฐานในการป้องกันและควบคุมอาชญากรรมพิเศษ
- พิจารณา ให้คำปรึกษา แนะนำ รวมทั้งสนับสนุนให้กับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับระบบและมาตรฐานการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ
- ประสานการปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
- งานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
๔) กลุ่มงานการมีส่วนร่วมของประชาชน (สร.ผอ.)
มีหน้าที่
- ส่งเสริม สนับสนุนหน่วยปฏิบัติในการแสวงหาความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนในกิจกรรมตำรวจ เฉพาะงานชุมชนมวลชนสัมพันธ์ ตำรวจชุมชน และอาสาสมัครต่างๆ เพื่อส่งเสริมงานป้องกันและควบคุมอาชญากรรม
- ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามนโยบาย มาตรการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชน
- พัฒนา ส่งเสริม หรือกำหนดมาตรการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน องค์กร ในรูปแบบอาสาสมัครต่าง เครือข่ายชุมชน การมีส่วนร่วมขององค์กร และพนักงานรักษาความปลอดภัยเอกชนบุคลากร
๕) กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล (วป.ผอ.)
มีหน้าที่
- รวบรวมข้อมูลส่งเสริม สนับสนุนหน่วยปฏิบัติในการแสวงหาความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนในกิจกรรมตำรวจ เฉพาะงานชุมชนมวลชนสัมพันธ์ ตำรวจชุมชน และอาสาสมัครต่างๆ เพื่อส่งเสริมงานป้องกันและควบคุมอาชญากรรม
- ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามนโยบาย มาตรการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชน
- พัฒนา ส่งเสริม หรือกำหนดมาตรการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน องค์กร ในรูปแบบอาสาสมัครต่าง เครือข่ายชุมชน การมีส่วนร่วมขององค์กร และพนักงานรักษาความปลอดภัยเอกชนบุคลากร