Home » การปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปราม

การปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปราม

การปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปราม ต้องยึดหลักการ ดังนี้

  1. การบังคับใช้กฎหมาย

ต้องเป็นไปด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา และสถานภาพทางสังคม

  1. เน้นการป้องกัน
    • ให้ความสำคัญกับงานป้องกันมากเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสีย เพราะเมื่อเกิดเหตุแล้ว จะมีภาระอีกหลายอย่างตามมา ตั้งแต่การสืบสวน สอบสวน การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รวมถึงการคุมขัง จะต้องเสียค่าใช้จ่าย งบประมาณจำนวนมาก
    • ดังนั้นตำรวจจะต้องป้องกันไม่ให้อาชญากรรมเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด ซึ่งนอกจากจะต้องปรับปรุงระบบงานสายตรวจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ตำรวจทุกพื้นที่ ทุกตำแหน่ง ทุกหน้าที่ ต้องให้ความสำคัญ และร่วมแรง ร่วมใจกันทำหน้าที่ป้องกันอาชญากรรม
    • ทุกสถานีตำรวจ จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันให้มากขึ้น  โดย
      • ทำงานอย่างบูรณาการโดยใช้กำลังจากทุกฝ่ายภายใน สน./สภ.
      • แสวงหาความร่วมมือจากภาคเอกชน –หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ อาสาสมัครต่างๆ และประชาชนทั่วไปในพื้นที่
      • ใช้ข้อมูลที่ทันสมัยจากทุกช่องทาง ตามที่เกิดขึ้นจริง
      • วิเคราะห์ข้อมูล (สถานภาพ) อาชญากรรม อย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ
      • นำมาใช้ในการวางแผน ปรับยุทธวิธีการทำงาน
      • นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
      • ดำเนินมาตรการการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก อย่างจริงจัง สม่ำเสมอ
  1. ตำรวจกับประชาชน เป็นคนๆเดียวกัน ต้องเข้าหาประชาชน
    • ตำรวจกับประชาชนเปรียบเหมือนคนๆ เดียวกัน ต้องทำงานโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง  ตำรวจต้องเป็นฝ่ายเข้าหาประชาชน  เข้าหาหน่วยราชการ  เพื่อรับฟังความคิดเห็น  ความต้องการ  ตรวจสอบ (X-Ray)  ปัญหาความเดือดร้อน อย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและถูกใจ ได้ผลอย่างยั่งยืน
    • การแสวงหาความร่วมมือ  เพื่อให้ประชาชนและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจต่างๆ จะต้องเริ่มจาก การปฏิบัติหน้าที่ – ภารกิจ สำเร็จ ครบถ้วน เพื่อเป็นการสร้างศรัทธา  ความเชื่อมั่น  ให้กับประชาชนและสังคมยอมรับก่อน  จึงจะเป็นที่มาของความร่วมมือ  ร่วมใจของประชาชน  และหน่วยราชการที่เราต้องการได้
  1. การใช้กำลังและอาวุธ

ตำรวจจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นอย่างแท้จริง และไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นหรือตนเองเท่านั้น ต้องสมเหตุสมผล ตำรวจจึงจำเป็นต้อง ฝึกอบรม เรียนรู้ จนสามารถใช้กำลังและอาวุธได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พึงระมัดระวังอย่างยิ่ง หากผิดพลาดจะเสียหาย แก้ไขยาก เพราะเทคโนโลยีปัจจุบัน ก้าวหน้า รวดเร็วมาก

  1. ภาพพจน์ และชื่อเสียงของตำรวจ
    • ต้องคำนึงถึงภาพพจน์ และชื่อเสียงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพราะเป็นทั้งผู้บังคับใช้กฎหมายและให้บริการ ประกอบกับตำรวจนั้นมีต้นทุนทางสังคมต่ำ กระทำการใดๆ มักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ต้องช่วยกัน สอดส่อง ดูแล ช่วยเหลือ/แก้ไข ปัญหา ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งในงานราชการ และส่วนตัว อย่าปล่อยให้ตำรวจเพียงไม่กี่คนทำให้ภาพพจน์ของตำรวจส่วนใหญ่เสียหาย
    • ต้องไม่เป็นหนึ่งในส่วนน้อยที่ทำให้องค์กรตำรวจเสียหาย  ทั้งเรื่องใหญ่ หรือเรื่องเล็กน้อย
    • ให้ห่างไกล  ไม่ไปคบหากับผู้มีอิทธิพล  ผู้มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด  แก๊งเงินกู้นอกระบบ  อบายมุขทุกประเภท  ต้องถอยออกมาอย่างเด็ดขาด  และช่วยจัดการให้หมดสิ้นไป
    • ไม่ทำผิด  ฝ่าฝืนกฎหมายเสียเอง  เช่น  ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง  ขับรถย้อนศร  โดยไม่จำเป็น  ขับขี่รถจักรยานยนต์  โดยไม่สวมหมวกกันน็อก  เป็นต้น
  1. อาชญากรรมที่เกิดกับเด็ก สตรี คนชรา และชาวต่างชาติ ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

                    เพราะเป็นที่สนใจของประชาชน และสื่อมวลชน ตลอดจนส่งผลต่อความรู้สึก ความหวาดระแวง ภัย-อันตราย จากอาชญากรรม